YouTube เว็บไซต์คลังวิดีโอยอดนิยมอันดับ 1 ของโลก มีการใส่ปุ่ม dislike และ not interested เพื่อช่วยผู้ใช้งานคัดกรองเนื้อหาที่เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งในทางทฤษฎีการกด dislike น่าจะทำให้ตัวอัลกอริทึมของระบบไม่แสดงเนื้อหาคอนเทนต์ประเภทเดียวกันให้เราดูอีก
แต่ผลการวิจัยล่าสุดกลับพบว่า การกดปุ่มเหล่านี้แทบไม่มีส่วนช่วยในการคัดกรองเนื้อหาเลย เพราะไม่ว่าจะกด dislike และ not interested กี่ครั้ง มันก็จะขึ้นเนื้อหาเดิมที่คล้ายคลึงกับวิดีโอที่เราพึ่งดูแล้วไม่สนใจเมื่อกี๊อยู่ดี (แล้วจะมีเพื่อ!?)
YouTube ถูกแฉ ปุ่ม Dislike สามารถป้องกันการแสดงเนื้อหาได้เพียง 11 – 12%

ผลการวิจัยของ Mozilla ระบุว่า การที่YouTube ใส่ปุ่ม dislike และ not interested เพื่อช่วยผู้ใช้งานคัดกรองเนื้อหาที่เหมาะสมกับตัวเองนั้น จริง ๆ แล้วแทบไม่ได้ช่วยในการคัดกรองเนื้อหาเลย โดย Mozilla ได้ทำการทดสอบและรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้งานจริงมากกว่า 20,000 ราย ซึ่งผลปรากฏว่า การกดปุ่ม dislike และ not interested จะช่วยลดการแสดงเนื้อหาคอนเทนต์ประเภทเดียวกันได้เพียง 11 – 12% เท่านั้น ส่วนการกดปุ่ม Remove from history จะช่วยลดการแสดงเนื้อหาคอนเทนต์ประเภทเดียวกันได้ 29% ขณะที่ปุ่ม Don’t recommend channel จะช่วยลดการแสดงเนื้อหาคอนเทนต์ประเภทเดียวกันได้ 43% เรียกได้ว่าไม่ถึงครึ่งเลยด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของYouTube ออกมาชี้แจงว่า สาเหตุที่ไม่ได้คัดกรองเนื้อหาออกไปทั้งหมด 100% เพราะมันอาจส่งผลเสียต่อผู้ใช้ได้ เช่น ผู้ใช้อาจจะรับชมแต่เนื้อหาคอนเทนต์ประเภทเดียวกันทำให้ได้รับแต่แนวคิดหรือมุมมองเดิม ๆ ขาดความสร้างสรรค์ จึงต้องการให้ผู้ใช้เห็นคอนเทนต์ที่ประเภทอื่นบ้าง ถึงแม้ว่าจะเป็นคอนเทนต์ที่ผู้ใช้เคยกด dislike และ not interested ก็ตาม

แต่ถึงอย่างนั้นทางนักวิจัยของ Mozilla ก็บอกว่าทางการที่YouTube ใส่ปุ่มต่าง ๆ มาบนแพลตฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้งานกดฟีดแบก แต่กลับไม่สนใจฟีดแบกดังกล่าว ถือเป็นการไม่เคารพความเห็นและความต้องการของผู้ใช้งาน หรือพูดง่าย ๆ ว่า หากกดแล้วไม่ได้ช่วยคัดกรองเนื้อหาอย่างที่ต้องการ แล้วจะใส่มาเพื่อ? และขอเสนอ sa game เว็บตรง คาสิโนออนไลน์ อันดับ 1 ของประเทศ เล่นง่าย รวยไว ให้รางวัลสูง