Qualcomm บริษัทผู้ผลิตชิปเบอร์หนึ่งของโลกกำลังประสบปัญหาชิปประมวลที่ใช้สำหรับสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ขาดแคลนทั่วโลก ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ก็มีสาเหตุมาจากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
ทำให้วัตถุดิบที่จำเป็นในสายการผลิตชิปไม่สามารถนำเข้าจากต่างประเทศได้เหมือนเมื่อก่อน แม้ว่าปัญหาขาดแคลนชิปของ Qualcommจะเกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้ว
แต่ผลกระทบในปัจจุบันกำลังจะแผ่ออกไปในวงกว้างจนคาดกันว่าอาจทำให้ราคาสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
Qualcomm ไม่สามารถผลิตชิป Snapdragon 888 ได้เพียงพอต่อความต้องการ

จากการรายงานของสำนักข่าว รอยเตอร์ส (Reuters) ระบุว่า Qualcommบริษัทผลิตชิปยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งของโลกกำลังประสบปัญหาอย่างหนักในการผลิตชิปประมวลสำหรับสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่น ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการ
โดยเฉพาะชิปเซ็ตเรือธงรุ่นล่าสุดอย่าง Snapdragon 888 ซึ่งเป็นที่ต้องการของค่ายผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแทบทุกแบรนด์ โดย รอยเตอร์ส อ้างว่า ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่ระบุนามรายหนึ่งของQualcommได้ยืนยันว่า บริษัทกำลังมีปัญหาเรื่องการผลิตชิปจริง เนื่องจากบริษัทจำเป็นต้องจำกัดปริมาณการผลิตในปีนี้

เนื่องจากไม่มีวัตถุดิบหลัก โดยเฉพาะแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวกลางสำหรับใช้ในการผลิตชิป เพราะวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
ประกอบกับความต้องการชิปเซ็นรุ่นต่าง ๆ ของ Qualcommจากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนมีมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถผลิตชิปได้ทันความต้องการนั่นเอง
ทั้งนี้ คาดกันว่า ผลกระทบครั้งใหญ่ที่กำลังตามมาจากปัญหาการขาดแคลนชิป Qualcommก็คือจะทำให้ต้นทุนของสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ชิปเซ็ตของค่ายยักษ์ใหญ่นี้ถีบตัวสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เนื่องจากผู้ผลิตแทบทุกค่ายต่างก็จะแข่งขันกว้างซื้อชิปของ Qualcommมาสต็อกเก็บไว้ในคลังของตัวเองเพื่อให้เพียงพอความต้องการ ตัวอย่างเช่น microcontroller-unit จาก STMicroelectronics ที่มีราคาในช่วงปกติราว 2 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ในปัจจุบันถีบตัวไปถึง 14 ดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าไปแล้ว และนอกจาก Qualcommแล้ว ก็มีรายงานว่า ทางด้าน Samsung เองก็ขาดแคลนชิปตระกูล Exynos ของตัวเองด้วยเช่นกัน ซึ่งก็ต้องรอดูกันไปต่อว่าวิกฤติครั้งนี้จะจบลงเมื่อไหร่แน่
